ประวัติของเทคโนโลยี HVDC ของ ระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูง

ระบบเครื่องกลไฟฟ้าของ Thury

Schematic diagram ของระบบส่งกำลัง HVDC ของ ThulyHVDC ในปี 1971: วาล์วปรอทอาร์คขนาด 150 kV ใช้แปลงแรงดันไฟฟ้าพลังน้ำ AC สำหรับส่งกำลังจากโรงผลิตไฟฟ้าในมานิโตบาไปยังเมืองต่างๆที่อยู่ห่างไกลเสาสูงที่ใช้พาดสายไฟฟ้าแรงสูงระบบสองขั้วของบริษัทบอลติคเคเบิลที่เป็น HVDC ใน Sweden

การส่งกำลังไฟฟ้าทางไกลโดยการใช้กระแสตรงเป็นครั้งแรกถูกสาธิตให้ดูในปี ค.ศ.1882 ที่สถานีไมส์บาค-มิวนิก แต่ส่งเพียง 1.5 กิโลวัตต์เท่านั้น วิธีการแรกๆของการส่งกำลังไฟฟ้าด้วยกระแสตรงแรงดันสูง ถูกพัฒนาโดยวิศวกรชาวสวิสชื่อ René Thury และวิธีการของเขาถูกนำไปปฏิบัติในปี ค.ศ.1889 ในอิตาลีโดย บริษัท Acquedotto De Ferrari-Galliera ระบบนี้ใช้มอเตอร์กำเนิดไฟฟ้ามาต่อพ่วงกันเพื่อเพิ่มแรงดันไฟฟ้า แต่ละชุดจะถูกหุ้มฉนวนไฟฟ้าแยกจากพื้นดินและขับเคลื่อนด้วยเพลาฉนวนจากเครื่องต้นกำลัง สายส่งกำลังทำงานในโหมด 'กระแสคงที่' ที่มีถึง 5,000 โวลต์ในแต่ละเครื่อง บางเครื่องมี commutators สองตัวเพื่อลดแรงดันไฟฟ้า ระบบนี้จะส่ง 630 kW ที่ 14 กิโลโวลต์ DC ระยะทาง 120 กม ระบบ Moutiers-ลียง ส่ง 8,600 กิโลวัตต์ของไฟฟ้​​าพลังน้ำเป็นระยะทาง 200 กิโลเมตร รวมทั้ง 10 กม. ของสายเคเบิลใต้ดิน ระบบนี้ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแปดชุดเชื่อมต่อกับ commutators คู่สำหรับแรงดันไฟฟ้ารวมเป็น 150,000 โวลต์ระหว่างขั้วบวกและลบและดำเนินการจากปี 1906 จนถึงปี 1936. ระบบ Thury สิบห้าระบบ อยู่ในการดำเนินงานในปี ต.ศ.1913. ระบบThury อื่น ๆ ที่ทำงานได้ถึง 100 กิโลโวลต์ DC ทำงานในช่วงทศวรรษที่ 1930 แต่เครื่องจักรที่หมุนจะต้องการการบำรุงรักษาสูงและมีการสูญเสียพลังงานสูง อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ ได้มีการทดสอบในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 แต่ความสำเร็จในเชิงการค้ามีน้อย

เทคนิคอย่างหนึ่งในความพยายามในการแปลงไฟฟ้​​ากระแสตรงจากแรงดันไฟฟ้าสูงที่ส่งมาเพื่อลดแรงดันลงในระดับใช้งาน คือการชาร์จแบตเตอรี่ที่เชื่อมต่ออนุกรมกัน แล้วเชื่อมต่อแบตเตอรี่ในแบบคู่ขนานเพื่อให้บริการโหลดที่กระจาย การติดตั้งในเชิงพาณิชย์สองครั้งถูกทดสอบช่วงเปลี่ยนศตวรรษที่ 20, เทคนิคนี้ไม่ได้ประโยชน์อันเนื่องจากความจุที่จำกัดของแบตเตอรี่, ความลำบากในการสลับไปมาระหว่างการเชื่อมแบบอนุกรมและการเชื่อมต่อแบบขนานและประสิทธิภาพพลังงานโดยธรรมชาติของวงจรการชาร์จ/ดีสชาร์จของแบตเตอรี่

ใกล้เคียง

ระบบสุริยะ ระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูง ระบบสกาดา ระบบส่งข้อความทันที ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศ ระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ระบบสภาเดียว